เลือกภาษา ::
ประกาศห้ามเผาในที่โล่ง เริ่ม 13 ก.พ.-30 เม.ษ 64 ในพื้นที่จังหวัดลำพูน
ข่าวประชาสัมพันธ์ วันที่ 15 ก.พ. 2564, 11:03

จ.ลำพูน ประกาศห้ามเผาในที่โล่ง เริ่ม 13 ก.พ.-30 เม.ษ 64 ฝ่าฝืนอาจต้องระวางโทษจำคุก ปรับสูงสุด 2 ล้านบาท
.
จังหวัดลําพูนได้มีการประกาศ เรื่อง ห้ามบุคคลทําการเผาในที่โล่ง ในเขตพื้นที่จังหวัดลําพูน ด้วยปรากฏว่า ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม มักจะเกิดการเผาในที่โล่งเป็นประจํา โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 - 12 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ พบจุดความร้อน ในพื้นที่จังหวัดลําพูนจากดาวเทียมระบบ VIIRS เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจํานวนมาก โดยเฉพาะตําบลก้อ อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ก่อให้เกิดการสะสมของฝุ่นควันจากการเผาในพื้นที่ป่า ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
.
เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากไฟป่า หมอกควัน และลดมลพิษทางอากาศที่จะเกิดขึ้น จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 จังหวัดลําพูน จึงห้ามบุคคลทําการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่จังหวัดลําพูน ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 30 เมษายน 2564 และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
.
โดยในเขตพื้นที่ชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม ห้ามไม่ให้ผู้ใด ดําเนินการ เผาขยะมูลฝอย เผากิ่งไม้ใบไม้ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรตลอดจนวัชพืชต่าง ๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญ ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัคร ทุกประเภท ถือเป็นหน้าที่ต้องสอดส่องดูแลเอาใจใส่ ให้ดําเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และร่วมชี้แจง ให้ประชาชนในท้องที่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้อย่างเคร่งครัด อนึ่งการกระทําการใดๆ ดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําความผิดตามกฎหมาย และมีบทลงโทษ ดังนี้
.
1.ในเขตทาง ห้ามมิให้ดําเนินการจุดไฟเผาในพื้นที่ริมทางหลวง ริมทางรถไฟและ ริมทางหลวงท้องถิ่น ซึ่งหากพบเห็นให้รีบแจ้งหน่วยงานที่รับผิดขอบเขตทางหลวงนั้น เข้าดําเนินการระงับเหตุ รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทําผิดอย่างเคร่งครัด
2.ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ หรือทําให้เกิดไฟป่าทุกชนิด การจุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ไฟลุกลามเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ และเขตทาง จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 54 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ห้ามมิให้ผู้ใดก่อสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่า หรือกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทําลายป่า หรือเข้าถือหรือครอบครองป่า เพื่อตนเองหรือผู้อื่น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 54 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในกรณีที่ได้กระทําเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท
2.2 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาตรา 14 ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครอง ทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทําไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพ ป่าสงวนแห่งชาติ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 34 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท ในกรณีที่ได้กระทําเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท
2.3 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 55 (2) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือทําด้วย ประการใดให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติเติม ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 55 (2) ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในกรณี ความผิดดังกล่าว ถ้าได้กระทําในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 1 หรือพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่าโทษ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งกึ่งหนึ่ง และมาตรา 67 (2) การเผาป่าในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีความผิด ต้องระวางโทษ ตามมาตรา 103 โทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 700,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
2.4 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 19 (1) ภายในอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดกระทําการยึดถือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทําการด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิม ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 (1) ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในกรณีความผิดดังกล่าว ถ้าใต้กระทําในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 1 หรือพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรือพื้นที่เปราะบาง ของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ ในวรรคหนึ่งกึ่งหนึ่ง
3. ห้ามผู้ใดทําการเผา ไม่ว่ากรณีใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเดือนร้อนรําคาญ หรือทํา ให้สภาพแวดล้อมเสียหาย คุณภาพอากาศลดลง หรือเป็นมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ดังนี้
3.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 97 ผู้ใดกระทําหรือละเว้นการกระทําด้วยประการใด โดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทําลายหรือทําให้สูญ หายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทําลาย สูญหาย หรือเสียไปนั้น
3.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า เป็นเหตุรําคาญ
4.การกระทําใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาตรา 28 (วรรค 2) ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และ เหตุรําคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญนั้น และ อาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับ การก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการนั้น ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นตามมาตรา 23 มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
5. ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 130 ห้ามมิให้ผู้ใดเผา หรือ กระทําด้วยประการใด ๆ ภายในระยะห้าร้อยเมตรจากทางเดินรถ เป็นเหตุให้เกิดควันหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะที่ อาจทําให้ไม่ปลอดภัยแก่การจราจรในทางเดินรถนั้น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 130 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
.
กรณีพบเห็นการกระทําโดยผิดกฎหมาาย ให้แจ้งกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และนายอําเภอ เพื่อทราบ และดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ หรือแจ้งหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดลําพูน โทร/โทรสาร 053 – 562 963 ตํารวจภูธรจังหวัดลําพูนสถานีตํารวจภูธรทุกแห่ง สายด่วน 191 ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สายด่วน 1362 หรือโทร 053 – 232 019 สายด่วนทางหลวง 2586 สายด่วนทางหลวงชนบท 1146 นายอําเภอเมืองลําพูน โทร. 081 - 8674377
นายอําเภอป่าซาง โทร. 081 - 8674380
นายอําเภอลี้ โทร. 081 – 8674418
นายอําเภอแม่ทา โทร. 081 - 8674409
นายอําเภอบ้านโฮ่ง โทร. 081 - 8674397
นายอําเภอทุ่งหัวช้าง โทร. 081 - 8674423
นายอําเภอเวียงหนองล่อง โทร. 081 - 8674425
นายอําเภอบ้านธิ โทร. 081 - 8674424

推荐新闻
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 18 มี.ค. 2567, 16:13

               วันนี้ (18 มีนาคม 2567) เวลา 08.30 น. ที่ศาลากลางจังหวั...

继续阅读
ข่าวกิจกรรมสำคัญจังหวัด

วันที่ 18 มี.ค. 2567, 16:10

วันที่ 17 มีนาคม 2567 เวลา 14.00 น. ที่บ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและคณะฯ ลงพื้...

继续阅读
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 15 มี.ค. 2567, 11:56

                นายสันติธร  ยิ้มละมัย &n...

继续阅读
ข่าวสารจังหวัด

วันที่ 21 ก.พ. 2567, 16:02

         วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2567) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมเทศบาลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน...

继续阅读

有趣的链接

旅游地图

ศาลากลางจังหวัดลำพูน ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน โทร / โทรสาร 05351-1000 E-mail : [email protected]