เลือกภาษา ::

สถานที่ท่องเที่ยว :: หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านดอนหลวง

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านดอนหลวง
อำเภอป่าซาง วันที่ 22 ก.พ. 2562, 11:45

ประวัติ : บ้านดอนหลวงเป็นแหล่งผลิตงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือรายใหญ่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ที่ตั้งอยู่ในตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานกว่า 200ปีของบ้านดอนหลวงและการทอผ้าด้วยมืออันลือเลื่องที่อยู่คู่วิถีชีวิตมาตั้งแต่เดิม แรกเริ่มเดิมทีบ้านดอนหลวงชื่อ หมู่บ้านกอถ่อน เป็นหมู่บ้านชาวยองที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งของแคว้นสิบสองปันนาในจีนตอนใต้ที่ค้าวัวค้าควายมาก่อน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองประเทศพม่าเข้ามาตั้งบ้านเรือนในเขตเมืองลำพูนตั้งบ้านเรือน"เก็บฮอมตอมไพร่" เพื่อบูรณะฟื้นฟูเมืองหลังจากรกร้างจากการทำสงครามกับพม่า

 

ชาวยองเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ตั้งหมู่บ้านปัจจุบันเป็นชุมชนใหญ่ประกอบกับที่ตั้งหมู่บ้านเป็น  ที่ดอน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านดอนหลวง” วิถีชีวิตของคนยองในสมัยก่อนจะทำไร่ทำนา เลี้ยงวัวควาย เมื่อว่างจากงานหลักหญิงสาวมักจะทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยคนเมืองยองเรียกการทอผ้าว่า “ตำหูก” แต่ละบ้านจะทอผ้าจากฝ้ายที่ปลูกเอง แล้วนำมาผ่านกระบวนการปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย จากนั้นย้อมสีเส้นด้ายด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต จากนั้นจึงนำมาขึ้นกี่ที่มีอยู่ใต้ถุนบ้านแทบจะทุกหลังคาเรือนเพื่อทำการถักทอเป็นผ้าผืนตามขนาดที่ต้องการ โดยผ้าที่นิยมทอกันในสมัยนั้นจะเป็นผ้าสีพื้น จากนั้นนำมาตัดเย็บเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป อาทิเช่น ผ้าห่ม ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เป็นต้น ในสมัยก่อนเด็กผู้หญิงในหมู่บ้านจะทอผ้าด้วยมือกันเป็นแทบทุกคน หากว่าเป็นแต่ลวดลายพื้นๆ ที่เรียกว่าลาย 2 ตะกอ การทอผ้ามือจึงถือได้ว่าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาและเป็นกิจกรรมที่ผูกพันกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านดอนหลวงมาเป็นเวลานานนับร้อยๆปี

 

ความเจริญเริ่มแผ่ขยายเข้ามาสู่ตัวอำเภอป่าซางผ่านทางถนนหลวงที่ตัดผ่านเมืองป่าซางเพื่อทอดตัวไปสู่เชียงใหม่ การทอผ้ามือของช่างทอผ้าบ้านดอนหลวงจึงมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงการทอเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันอีกต่อไป แต่กลายไปเป็นอาชีพเพื่อเลี้ยงปากท้องแทนการทำไร่ทำนาอย่างในอดีต การตั้งขึ้นของโรงงานทอผ้าในตัวเมืองอำเภอป่าซางทำให้ช่างทอผ้าจากบ้านดอนหลวงหลายๆคนถูกดึงตัวออกไปทำงานยังโรงงานทอผ้าทำหน้าที่เพื่อคิดค้นลวดลายใหม่ๆและยกลวดลายจากใบกระดาษแบบลายของเจ้าของโรงงานให้ลงสู่ผืนผ้าจริง การออกไปทำงานยังโรงงานทอผ้าในตัวเมืองป่าซางเสมือนการเปิดประตูความรู้ของช่างทอผ้าบ้านดอนหลวงให้รู้จักและเรียนรู้การทอผ้าลวดลายแปลกใหม่ที่ทันสมัย การใช้สีสันบนชิ้นงานให้เป็นที่ถูกใจของตลาด ได้พบและเรียนรู้อีกด้านหนึ่งของการทอผ้าที่ไม่ใช่การทอผ้าเพื่อชีวิตประจำวัน เมื่อสั่งสมความรู้และประสบการณ์จนเชี่ยวชาญจึงได้กลับมาพัฒนาการทอผ้าให้ก้าวไกลออกไปอีกขั้นการทอผ้ามือบ้านดอนหลวงผ่านการสะสมความรู้และประสบการณ์หลายต่อหลายรุ่น จนกลายเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่า แม้ปัจจุบันการทอผ้าจะค่อยๆจางหายไปจากชุมชน ทุกหลังคาเรือนไม่ได้ทอผ้าใช้อย่างในอดีต หลายๆคนหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่พยายามสืบสานและพัฒนาการทอผ้าต่อไป

 

ในปี พ.ศ. 2535 กลุ่มทอผ้าบ้านดอนหลวงเป็นหนึ่งในความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และคงอยู่ของการทอผ้าฝ้าย เริ่มก่อตั้งโดยความสนับสนุนของภาครัฐ แรกก่อตั้งมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 15คน กลุ่มทำหน้าที่ส่งเสริม พัฒนา และกระจายสินค้าแก่สมาชิก โดยมีศูนย์จำหน่ายสินค้าจากผ้าฝ้ายทอมือที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้านสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2532 โดยได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ (ก.น.ช.) ได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งมาสร้างศาลาประชาธิปไตยในพื้นที่ของวัดดอนหลวง และได้จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นศูนย์หัตถกรรม ต่อมาอาคารดังกล่าวได้ทรุดโทรมลง ชาวบ้านจึงมีการประชุมปรึกษาหารือและได้สร้างอาคารศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ผ้าทอขึ้นใหม่ในที่เดิม ประมาณปี พุทธศักราช 2541 โดยได้รับงบประมาณจากโครงการมิยาซาวา ซึ่งอาคารนี้มีใช้เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมสินค้าหัตถกรรมของกลุ่มเครือข่ายและเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการฝึกอบรมสมาชิกเกี่ยวกับการทอผ้า การย้อมสีผ้า รวมทั้งกระทั่งการออกแบบผลิตภัณฑ์  ต่อมาในปี พ.ศ.2542  ได้รับรางวัลหมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น  จึงมีการขยายกลุ่มโดยการเปิดรับสมาชิกเพิ่ม เพื่อขยายความร่วมมืออนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าฝ้ายให้คงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน

 

ปัจจุบันการทอผ้าฝ้ายของชาวบ้านดอนหลวงมีการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายให้มีความทันสมัย กลายเป็นสินค้าหัตถกรรมจากผ้าฝ้ายหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมไหล่ ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูเตียง เป็นต้น อีกทั้งยังผลิตสินค้าออกจำหน่ายเป็นสินค้าที่ระลึกไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ มากมายทั้งในและนอกประเทศ นับเป็นแหล่งผลิตสินค้าจากผ้าฝ้ายทอเมืองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ

 

บ้านดอนหลวงจัดงาน "แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง" ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546  ซึ่งกลายมาเป็นงานแสดงสินค้าประจำปีของหมู่บ้าน และบ้านดอนหลวงได้เป็นหมู่บ้านโอท็อปแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (หมู่บ้าน OVC) ในปี พ.ศ. 2549

 

ที่ตั้ง : ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

แผนที่การเดินทาง

สถานที่ท่องเที่ยวแยกตามอำเภอ

สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ

อำเภอเมืองลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
ที่พักในจังหวัดลำพูน
อำเภอเมืองลำพูน
โรงแรมบ้านหละปูน

โรงแรมบ้านหละปูนจัดเป็นโรงแรมขนาดเล็ก แต่มีความทันสมัย มีจำนวนห้องพัก 9 ห้อง เป็นห้อง Superior 6 ห้อง ห้อง Deluxe 3 ห้...

อ่านต่อ
อำเภอเมืองลำพูน
รอยัล ปริ๊นเซส ซิตี้ ลำพูน

เชิญสัมผัสบริการที่ประทับใจ ด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น กับห้องพักสไตล์ Boutique ในราคาพิเศษ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการท...

อ่านต่อ
อำเภอเมืองลำพูน
เคเค การ์เดน เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์

เคเค การ์เดน เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ เป็นที่พักอันยอดเยี่ยมสำหรับผู้ไปเยือนลำพูน ไม่ว่าจะเพื่อพักผ่อนท่องเที่ยวหรือติดต่อธุ...

อ่านต่อ
อำเภอเมืองลำพูน
เฮือนดาหลา รีสอร์ท (Huandalha Resort)

ฮือนดาหลา รีสอร์ท เป็นสถานที่พักอันลงตัวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการดื่มด่ำกับสีสันของลำพูนอย่างเต็มที่ จากที่พัก ท่านส...

อ่านต่อ

จำนวนการเข้าดูเว็บไซต์ทั้งหมด

0 0 0 1 6 4 5 1 4

วันนี้

จำนวน

67

สัปดาห์นี้

จำนวน

1254

เดือนนี้

จำนวน

4063

ลิงค์ที่น่าสนใจ

แผนที่การเดินทาง

ศาลากลางจังหวัดลำพูน ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน โทร / โทรสาร 05351-1000 E-mail : [email protected]